วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เหว่ยหล่าง 2


ท่านเว่ยหล่างตอน 2 
  • ผู้มาขอบวชแต่คนจีนชาวใต้สมัยนั้น ถือว่าสติปัญญาน้อย แต่พระสังฆปรินายกองค์ที่ 32 รับไว้ แล้งจึงส่งไปในโรงครัวตำข้าว 
  • ท่านอ่านหนังสือไม่ออก ผลสุดท้ายบรรลุธรรม และได้แต่งตั้งเป็นพระสังฆปรินายก ขณะเป็นแค่คนตำข้าว ไม่ได้บวชพระ 
  • แต่เป็นถึงผู้ที่ได้แต่งตั้งพร้อมบาตร จีวร เป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 33 นับจากพระมหากัสสะปะองค์ที่ 1 จากอินเดีย หรือนับองค์ที่ 6 ในจีน นำมาโดยท่านปรมาจารย์ตักม้อ
  • เรื่องนี้ธรรมะชี้ชัดว่า ธรรมะไม่ได้อยู่ตามพระคัมภีร์ หรือชุดที่สวมใส่ แต่หากอยู่ในจิตเราที่ควรเข้าถึง.

ท่านเว่ยหล่าง
พระสังฆปรินายก องค์ที่ 6 ในนิกายเซน

  • การที่เพียงแต่พูดกันถึงอาหาร ย่อมไม่อาจบำบัดความหิวได้ฉันใด ในกรณีของบุคคลผู้เอ่ยถึงปรัชญาแต่ปาก ก็ไม่อาจขจัดความมืดบอดได้ฉันนั้น
  • เราอาจพูดถึงเรื่อง สุญญตา(ความว่าง) เป็นเวลาตั้งแสนกัลป์ก็ได้ แต่ว่าลำพังการพูดอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้เราเห็นแจ่มแจ้งในจิตเดิมแท้ได้
  • การเถียงกันย่อมหมายถึง การดิ้นรนจะเป็นฝ่ายชนะ ย่อมเสริมกำลังให้ความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตน และย่อมจะผูกพันเราไว้กับความยึดถือ ด้วยความสำคัญว่าตัวตน ว่าสัตว์ ว่าชีวะ ว่าบุคคล
  • ในการฝึกความนึกคิดของตนเอง จงปล่อยให้อดีตเป็นอดีต ถ้าเราเผลอให้ความคิดของเราที่เป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต มาจัดติดต่อกันเป็นห่วงโซ่แล้ว ก็หมายความว่า เราจับตัวเองใส่กรงขัง
  • ผู้ที่สามารถรักษาจิตของตนไว้ไม่ให้ปั่นป่วนได้ ไม่ว่าจะอยู่ในท่ามกลางสิ่งแวดล้อมชนิดไหน ชื่อว่าได้บรรลุถึงสมาธิ
  • เมื่อสิ่งเหล่านี้ มีอยู่ในเราแล้ว เรื่องของมันก็คือ ทำให้เห็นแจ้งออกมา ไม่ใช่เที่ยววิ่งแสวงหา
  • ในขณะที่ คนไร้ปัญญากำลังพากันท่องนามของอามิตาภะ และอ้อนวอนของให้ได้เกิดในแดนบริสุทธิ์อยู่นั้น คนฉลาดก็พากันชำระใจของเขาให้สะอาดแทน เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า "เมื่อใจบริสุทธิ์ แดนแห่งพระพุทธเจ้าก็บริสุทธิ์พร้อมกัน"
  • ไม่ว่าสถานการณ์อันใดจะเข้ามาแวดล้อมใจ ก็ไม่ถูกทำให้เปื้อนด้วยวัตถุกามารมณ์ อันน่าขยะแขยงด้วยความทะเยอทะยานอยากและตัณหา นั่นแหละคือ คุณชาติอันประเสริฐสุดของเราได้เกิดมาเป็นคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น