วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เหว่ยหล่าง 10


ท่านเว่ยหล่างตอนที่10 ตอนจบ 
  • ท่านเว่ยหล่าง(ฝากชมตอนท่านบอกลาและมรณะภาพท่าสมาธิ สะรีระยังคงอยู่เท่าทุกวันนี้)
  • ในขณะที่สังฆปริณายกองค์ที่ ๕ กำลังเผยแผ่ศาสนาอยู่... 
  • มีเด็กหนุ่มกำพร้าคนหนึ่งชื่อ "เว่ยหล่าง" มีอาชีพตัดฟืนขายเลี้ยงมารดาผู้ชรา 
  • ที่ตำบลชุนเชา มณฑลกวางตุ้ง ภาคใต้ของจีน.. เว่ยหล่างได้ยินอุบาสกคนหนึ่ง 
  • สวดวัชรปรารมิตาสูตร หรือที่ภาษาจีนเรียกว่า "กิมปังปัวเยียปอล่อมิกเก็ง
  • พอได้ยินเท่านั้น ก็เกิดขนลุกชูชัน เกิดศรัทธาอยากจะศึกษาธรรมะเหลือเกิน 
  • แต่ติดขัดที่ไม่มีใครดูแลมารดา จึงรออยู่พักหนึ่ง จนในที่สุดมีผู้ให้เงิน ๑๐ ตำลึง 
  • เพื่อมอบให้มารดาใช้สอยขณะเขาไม่อยู่ เว่ยหล่างจึงเดินทางไปเมืองวองมุย 
  • ใช้เวลาเดินทางถึง ๑ เดือน พอไปถึงก็เข้าไปนมัสการพระสังฆปริณายก 
  • ขอเรียนธรรมะด้วย 
  • "เธอมาจากไหน" ท่านอาจารย์ถาม 
  • "มาจากปักษ์ใต้ครับ" 
  • "คนทางใต้เป็นคนป่าคนดง จะหวังเป็นพุทธะได้อย่างไร" 
  • "คนอาจจะมาจากภาคเหนือภาคใต้ แต่พุทธภาวะไม่มีเหนือ 
  • ไม่มีใต้ มิใช่หรือครับ" เด็กหนุ่มย้อน 
  • ท่านสังฆปริณายกรู้ทันทีว่าเด็กหนุ่มบ้านอกคนนี้ ได้รู้สัจธรรม 
  • ระดับหนึ่งแล้ว แต่เพื่อมิให้เป็นภัยแก่เขา จึงแสร้งดุให้เขาเงียบเสียง 
  • แล้วให้ไปช่วยทำงานในครัว 
  • วันหนึ่งท่านอาจารย์เรียกประชุมศิษย์ทั้งหมด ให้แต่ละคนเขียนโศลก 
  • บรรยายธรรมคนละบท เพื่อทดสอบภูมิธรรม ชินเชา (ชินชิ่ว) หัวหน้าศิษย์ 
  • เป็นผู้ที่ใคร ๆ ยกย่องว่าเป็นผู้เข้าใจธรรมะอย่างลึกซึ้งกว่าคนอื่น และมีหวัง 
  • จะได้รับมอบบาตรและจีวรจากท่านอาจารย์แน่ ๆ ได้แต่โศลกบทหนึ่ง 
  • เขียนไว้ที่ผนังว่า 
  • "กาย คือต้นโพธิ์ 
  • ใจ คือกระจกเงาใส 
  • จงหมั่นเช็ดถูเป็นนิตย์ 
  • อย่าปล่อยให้ฝุ่นละอองจับ" 
  • ท่านอาจารย์อ่านโศลกของชินเชาแล้ว ชมเชยต่อหน้าศิษย์ทั้งหลาย 
  • ว่าเป็นผู้เข้าใจธรรมอย่างลึกซึ่ง (แต่ตอนกลางคืนเรียกเธอเข้าไปพบตามลำพัง 
  • บอกว่าชินเชา "ยังไม่ถึง" ให้พยายามต่อไป) 
  • เว่ยหล่างได้ฟังโศลกของหัวหน้าศิษย์แล้ว มีความรู้สึกเป็นส่วนตัวว่า 
  • ผู้แต่โศลกยังเข้าใจไม่ลึกซึ้ง จึงแต่โศลกแก้ เสร็จแล้ววานให้เพื่อนช่วยเขียนให้ 
  • เพราะเว่ยหล่างอ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้ โศลกบทนั้นมีความว่า 
  • "เดิมที ไม่มีต้นโพธิ์ 
  • ไม่มีกระจกเงาใส 
  • เมื่อทุกอย่างว่างเปล่าตั้งแต่ต้น 
  • ฝุ่นละอองจะลงจับอะไร" 
  • ท่านอาจารย์รู้ทันทีว่า ผู้เขียนโศลกเป็นผู้เข้าถึงสัจธรรมสูงสุดแล้ว 
  • จึงถามใครเป็นคนแต่ง พอทราบว่าเว่ยหล่างเด็กบ้านนอกแต่ง จึงสั่งให้ลบทิ้ง 
  • พร้อมดุด่าต่อหน้าศิษย์อื่น ๆ ว่า หนังสือยังอ่านไม่ออกสะเออะจะมาเขียนโศลก 
  • แต่พอคล้อยหลังศิษย์อื่น ท่านอาจารย์เรียกเว่ยหล่างเข้าพบมอบ 
  • บาตรและจีวรให้ (มอบตำแหน่ง) แล้วสั่งให้รีบหนีไปกลางดึก ศิษย์ในสำนัก 
  • รู้ข่าว พากันออกตามล่าเอาบาตรและจีวรคืน เดชะบุญหนีรอดไปได้ 
  • เว่ยหล่างหลบซ่อนอยู่ในป่าเป็นเวลา ๑๕ ปี ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ 
  • เมื่ออายุ ๓๕ ปี แล้วออกเผยแผ่ศาสนาจนกระทั่งอายุ ๗๖ ปี ก็มรณภาพ 
  • ท่านเว่ยหล่างไม่รู้หนังสือ แต่สามารถเข้าถึงธรรมะได้เร็วกว่า 
  • คนที่เรียนแตกฉาน จากประสบการณ์นี้เอง ท่านจึงเชื่อมั่นว่า การศึกษา 
  • ธรรมะกับการบรรลุธรรมเป็นคนละเรื่องกัน นักศึกษาที่ "พลิกตำรา" 
  • ทีละหน้าๆ ไม่นานอาจถูกตำรามัน "พลิก" เอาได้ 
  • เทคนิกการสอนเซ็นของท่านเว่ยหล่างจึงไม่เน้นตำรา ไม่ติดตำรา 
  • แม้ระบบการถ่ายทอดเซ็นโดยการมอบบาตรและจีวร ที่สืบทอดกันมาแต่ 
  • โบราณกาล พอถึงยุคท่านเว่ยหล่าง ท่านยกเลิกหมด ท่านเห็นว่าการมอบ 
  • วัตถุให้แก่กัน ทำให้คนเบาปัญญา ไม่บรรลุธรรม คิดโลภอยากได้แล้วแย่งกัน 
  • ดังที่ท่านเคยประสบมาด้วยตัวเอง การถ่ายทอดควรใช้วิธี "จากจิตสู่จิต" 
  • มากกว่า ใครได้บรรลุธรรม ก็นับว่าเป็นสังฆปริณายกสืบต่อศาสนาทุกคน 
  • มีภาพที่รู้จักดีในหมู่ชาวพุทธเซ็นภาพหนึ่ง เป็นภาพท่านเว่ยหล่าง 
  • ฉีกคัมภีร์ทิ้งกระจุยกระจาย แเสดงว่าการจะเข้าถึงสัจธรรม ต้องทำลาย 
  • ความยึดติดคัมภีร์เสียก่อน นับเป็นภาพที่ท้าทายเอาการทีเดียว 
  • ศิษย์ของท่านคนหนึ่งชื่อ ลินซิ (รินไซ) ไปไกลยิ่งกว่านั้น 
  • คำพูดของท่าน ถ้าชาวพุทธไทยผู้เคร่งครัดได้ฟัง อาจสะดุ้งแปดกลับ 
  • หาว่าคนพูดเช่นนนั้นไม่บ้าก็เมา 
  • ท่านพูดว่าไงนะหรือครับ 
  • "ถ้าคุณพบพระพุทธเจ้ากลางทาง จงฆ่าเสีย" 

จาก พุทธศาสนาทัศนะและวิจารณ์
ของ ร.ศ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก
หากชอบโปรดกดติดตามเพจนี้เพื่อชมวีดีโอถัดไป..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น