ชีวประวัติวีดีโอการเกิดของท่านเว่ยหล่าง
- เล่าถึงการบรรยายธรรม ณ ห้องโถง วิหารไทฟัน ท่านเว่ยหล่างได้เล่าถึงประวัติของท่าน ซึ่งสนใจในทางธรรมจึงเข้าเป็นศิษย์ในพระสังฆปรินายกหวางยั่น ในระหว่างนั้น พระสังฆปรินายกหวางยั่น ได้มีประสงค์จะมอบตำแหน่งของตนให้กับศิษย์ผู้ที่แต่งโศลกได้เข้าถึงธรรม ในกาลนั้นศิษย์เอกของท่านสังฆปรินายกหวางยั่น ชื่อว่า ชินเชา ได้แต่งโศลกไว้บนกำแพงทางเดินดังนี้
ใจของเราคือกระจกเงาใส
เราเช็ดมันโดยระมัดระวัง ทุกชั่วโมง
และไม่ยอมให้ฝุ่นละอองจับ
ได้ค้นพบว่า โดยจิตเดิมแท้แล้วนั้น โศลกที่ถูกต้องควรเป็นดัวนี้
ทั้งไม่มีกระจกเงาอันใสสะอาด
เมื่อทุกสิ่งว่างเปล่าแล้ว
ฝุ่นจะลงจับอะไร?
ท่านจึงได้มอบ วัชรสูตร จีวร และบาตร
อันเป็นเครื่องหมายแห่งการสืบทอดสังฆปรินายก แก่ท่านเว่ยหล่าง
บทที่สอง ปรัชญา
การลุถึงวิมุติ คือการลุถึงสมาธิฝ่ายปรัชญา
โดย ความไม่ต้องคิด รู้สิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
ไม่ต้องมีอะไรห่อหุ้มพัวพัน
- คำถามแดนบริสุทธิ์คืออะไร ตอบเนื้อกายคือนครแห่งนี้มีประตูนอก 4 ประตู คือ ตา หู จมูก ลิ้น ประตูใน 1 ประตู คืออำนาจการปรุงแต่งความนึกคิด
- ถ้าจิตเดิมแท้ยังอยู่แสดงว่าเจ้าแผ่นดินยังปกครองดินแดนแห่งนี้
- หากจิตเดิมแท้ออกไป คือเจ้าแผ่นดินไม่อยู่ กายใจของเราก็ได้ชื่อว่าสาบสูญ
- ภายในมณฑลแห่งจิตมี ตถาคตแห่งการตรัสรู้ คอยส่องแสงทำความสะอาดประตูและควบคุมให้บริสุทธิ์
- บำเพ็ญสมาธิให้ถูกวิธี เป็นผู้ตรงแน่วแน่คือเมืองอริยะ แดนบริสุทธิ์
- ถ้าเพ่งจิตไปที่ความบริสุทธิ์มีแต่จะสร้างอวิชชา ต้องสร้างธนายะเพื่อ หลุดพ้นจากความพัวพัน
- ควรตั้งต้นที่ จิตเดิมแท้ แล้วไต่ไปตามมรรคปฏิปทา ข้อต้นคือ ศีล ปราศจากความทุจริต ความตระหนี่ ความโกรธ ข้อสองคือสมาธิ ไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์ ข้อสามคือปัญญา เพื่อเป็นอิสระจากความคิดห่อรัด แม้กระทั่งว่าการห่อรัดนั้นจะเป็นการห่อรัดกับความดีก็ไม่ได้ ทุกอย่างต้องลงไปที่ จิตเดิมแท้ จึงถูกต้อง
- การประพฤติจนดูช่ำชองที่เรียกว่าสมาธิตั้งมั่นนั้น ความจริงไม่ใช่สมาธิอะไรเลย
- การถือว่าการได้บรรลุธรรมหรือผลใดๆจากธรรมก็ตามเป็นเพียงของลมๆแล้ง(เมื่อทุกสิ่ง เป็นสุญญตา ก็ไม่มีอะไรให้บรรลุ) เป็นกุศลอันใหญ่หลวง
- ถ้าเพียงเชื่อว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสอะไรแม้แต่คำเดียว เมื่อนั้นดอกบัวจะบานในปากของท่าน(การแนะนำโดยไม่อ้างถึงพระพุทธเจ้า แต่ยกเอาประสบการณ์ที่ตนมีมาแนะนำสามารถสื่อให้ผู้ฟังเข้าถึงและเข้าใจได้ง่ายขึ้น)
- บทที่แปด สำนึกฉับพลันและสำนึกเชื่องช้า เนื่องจากในเมืองจีนสมัยนั้นมีสองสำนัก คือสำนักฉับพลันฝ่ายใต้ สำนักเชื่องช้าฝ่ายเหนือ รายละเอียดเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสอนธรรมะ
- สิ่งที่อยู่เหนือความมีอยู่และไม่มีอยู่ คือสิ่งที่มีอยู่ไม่ได้มีอยู่อย่างแท้จริง โดยเนื้อแท้แล้วคือไม่มีอยู่ คำตอบทางธรรมนี้ทำให้ได้รับพระราชูปถัมภ์
- ธรรมมีสามประเภท คือ ขันธ์ห้า อาตนะสิบสอง ธาตุสิบแปด
- ในสภาพของการเป็นเช่นนั้นย่อมไม่มีการมาหรือการไป ไม่มีการเกิดหรือการดับ
- ผู้เห็นต่างย่อมเป็นเช่นนั้นเอง การสร้างความขัดแย้งไม่ถูกต้องตามหลักธรรม
- เราควรเปลื้องตัวออกจากความผูกพันในวัตถุทั้งหลาย
จาก..วิกิพีเดีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น